พื้นที่ ต..หมูสี เป็น ตำบลเดียว ใน จ.นครราชสีมาที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นการประกาศทั้งตำบล แต่เนื่องจากในบางพื้นที่มีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยมาก่อนประกาศ และมีกรรมสิทธิและสิทธิครอบครองโดยชอบตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2497 ทำให้พื้นที่ ต.หมูสี บางแปลงมีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นหลักฐาน สามารถสร้างโรงแรม-รีสอร์ท โดยไม่จำเป็นต้องกันพื้นที่ออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชน
ต่อมามีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.3534 ประกาศให้ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาเป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเป็นการประกาศตามเขตการปกครอง ส่งผลให้เกิดความทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตำบลหมูสี อ.ปากช่อง ซึ่ง แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีความชัดเจนและกันพื้นที่ ต.หมูสี โดยระบุว่า ต.หมูสีเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ อีกทั้ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 กำหนดชัดว่า ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดิน นั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้เฉพาะที่ดินที่อยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี (อุทยานแห่งชาติเป็นป่าไม่ถาวร)
จึงเห็นได้ว่า แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ระบุชัดเจนว่า ส.ป.ก.ไม่สามารถนำที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติมาดำเนินการได้
ต่อมามีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.3534 ประกาศให้ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาเป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเป็นการประกาศตามเขตการปกครอง ส่งผลให้เกิดความทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตำบลหมูสี อ.ปากช่อง ซึ่ง แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีความชัดเจนและกันพื้นที่ ต.หมูสี โดยระบุว่า ต.หมูสีเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ อีกทั้ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 กำหนดชัดว่า ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดิน นั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้เฉพาะที่ดินที่อยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี (อุทยานแห่งชาติเป็นป่าไม่ถาวร)
จึงเห็นได้ว่า แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ระบุชัดเจนว่า ส.ป.ก.ไม่สามารถนำที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติมาดำเนินการได้
Category
📚
Learning