GAY OK BANGKOK เป็นซีรีส์ที่นำเสนอมุมมองการใช้ชีวิตของเกย์ในกรุงเทพฯมีทั้งหมด 5 Episodeโดยทำงานร่วมกับ TestBKK และ APCOM โดย TestBKKเป็นโครงการของ APCOM เพื่อส่งเสริมให้ชายรักชายรับการตรวจเชื้อ HIV ส่วน APCOM เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องเอดส์และคนข้ามเพศรวมไปถึงสิทธิ สุขภาพ และความเป็นอยู่ทั่วภูมิภาคทั้งเอเชียและแปซิฟิก
ซีรีส์เรื่องนี้แตกต่างจากซีรีส์อื่นตรงที่มีการสอดแทรกการรณรงค์ให้มีการป้องกันตัวเองจากโรคทางเพศสัมพันธ์ สนับสนุนให้ไปตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV และแนะนำยาเพร็พซึ่งเป็นยาต้านไวรัส HIV โดยซีซั่นแรกออกอากาศทางช่องยูทูปช่องของ TestBKK
GAY OK BANGKOK ได้รับกระแสตอบรับอย่างท่วมท้นจากแฟนซีรีส์มียอดผู้ชมในยูทูปสูงถึงสี่แสนกว่าวิวในแต่ละ EP และจากการเช็คยอดผู้ชมซีรีส์ในยูทูปไม่ใช่ว่ามีแค่เพียงคนไทยเท่านั้นที่ดูยังมีผู้ชมจากต่างประเทศที่ดูซึ่งไม่น่าเชื่อประเทศที่ไม่มีการยอมรับเกย์อย่างประเทศอินโดนีเซียติดอันดับเป็นอันดับ 2 เนื่องจากหนังเรื่องนี้มีซับไตเติลเป็นภาษาอังกฤษด้วย
โจโจ้ ทิชากร ภูเขาทอง ผู้กำกับเล่าว่า ซีรีส์เรื่องนี้เป็นเหมือนช่องทางหนึ่งที่ให้พวกเขาได้รับรู้ว่าพวกเขามีตัวตนอยู่บนโลกเพราะว่าประเทศของพวกเขาไม่ให้มีการแสดงออกแบบนี้ผ่านสื่อเนื่องจากเรื่องของศาสนา ไม่เพียงแค่เท่านี้องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเกย์ของประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ก็ได้ทำการรณรงค์เรื่องโรคติดต่อทางเพศขึ้นมาเหมือนกันหลังจากที่ซีรีส์ในซีซั่นแรกเผยแพร่ออกไปจึงทำให้เกิด GAY OK BANGKOK Season 2 ขึ้นมาจะมีเนื้อหาเข้มข้นและดราม่ากว่าเดิม
ซีรีส์เรื่องนี้แตกต่างจากซีรีส์อื่นตรงที่มีการสอดแทรกการรณรงค์ให้มีการป้องกันตัวเองจากโรคทางเพศสัมพันธ์ สนับสนุนให้ไปตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV และแนะนำยาเพร็พซึ่งเป็นยาต้านไวรัส HIV โดยซีซั่นแรกออกอากาศทางช่องยูทูปช่องของ TestBKK
GAY OK BANGKOK ได้รับกระแสตอบรับอย่างท่วมท้นจากแฟนซีรีส์มียอดผู้ชมในยูทูปสูงถึงสี่แสนกว่าวิวในแต่ละ EP และจากการเช็คยอดผู้ชมซีรีส์ในยูทูปไม่ใช่ว่ามีแค่เพียงคนไทยเท่านั้นที่ดูยังมีผู้ชมจากต่างประเทศที่ดูซึ่งไม่น่าเชื่อประเทศที่ไม่มีการยอมรับเกย์อย่างประเทศอินโดนีเซียติดอันดับเป็นอันดับ 2 เนื่องจากหนังเรื่องนี้มีซับไตเติลเป็นภาษาอังกฤษด้วย
โจโจ้ ทิชากร ภูเขาทอง ผู้กำกับเล่าว่า ซีรีส์เรื่องนี้เป็นเหมือนช่องทางหนึ่งที่ให้พวกเขาได้รับรู้ว่าพวกเขามีตัวตนอยู่บนโลกเพราะว่าประเทศของพวกเขาไม่ให้มีการแสดงออกแบบนี้ผ่านสื่อเนื่องจากเรื่องของศาสนา ไม่เพียงแค่เท่านี้องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเกย์ของประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ก็ได้ทำการรณรงค์เรื่องโรคติดต่อทางเพศขึ้นมาเหมือนกันหลังจากที่ซีรีส์ในซีซั่นแรกเผยแพร่ออกไปจึงทำให้เกิด GAY OK BANGKOK Season 2 ขึ้นมาจะมีเนื้อหาเข้มข้นและดราม่ากว่าเดิม
Category
📺
TV