ในหลวง และพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

  • 2 ปีที่แล้ว
----------------------------------------------
ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ฯ ข่าวในพระราชสำนัก
สาระน่ารู้ เกร็ดประวัติศาสตร์ ฯลฯ ผ่านทางช่อง Assavarak Channel
ได้ที่ -----ธนาคารไทยพานิชย์ 808-254325-0 Assavarak Chan.
ห้าบาทสิบบาทตามกำลังช่วยให้น้องๆ ทีมงานได้ทำช่อง ทำรายการดีๆ ต่อไปกันด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งมาให้นะครับ ส่งสลิปแจ้งการโอนบริจาคสนับสนุนได้ที่ไลน์ไอดี aun.1577 นะครับ
----------------------------------------------
เวลา 18.17 น. วันที่ 30 ตุลาคม 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ไปยังพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน เป็นวัดที่ 2 โอกาสนี้ ทรงรับผ้าไตรจากเจ้าพนักงานศุภรัต ทรงวางผ้าไตรเหนือพานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสน์สงฆ์ใกล้เจ้าอาวาส แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธชินราช พระประธานพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหยิบผ้าห่มสำหรับพระประธานที่วางอยู่บนผ้าไตร พระราชทานเจ้าพนักงานภูษามาลา แล้วทรงหยิบผ้าไตรที่พานแว่นฟ้าพาดระหว่างพระกร ทรงว่า "นะโม ตัสสะฯ" จบ 3 หน ทรงกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน ทรงประเคนผ้าไตรและเทียนปาฏิโมกข์แด่พระสงฆ์รูปที่ 2 แล้วถวายเครื่องบริวารกฐินแด่พระสงฆ์ผู้ครองผ้าพระกฐิน ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดเบญจมพิตรดุสิตวนารามถวายของที่ระลึก
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างสวนดุสิตขึ้น ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานนามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีเททอง ทรงเททองหล่อพระพุทธรูป จำนวน 6 องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปปางถวายเนตร, พระพุทธรูปปางจงกรม, พระพุทธรูปปางสมาธิเรือนแก้ว, พระพุทธรูปปางห้ามมาร, พระพุทธรูปปางนาคปรก และพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งจะประดิษฐานบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในโครงการ "โพธิมณฑล พุทธานุสรณ์สัตตมหาสถาน" ในโอกาสที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีอายุครบ 120 ปี ในปี 2562 จึงได้ดำเนินการสร้างสัตตมหาสถาน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำริที่จะจำลองสัตตมหาสถานทั้ง 7 แห่ง ถวายเป็นพุทธบูชา ไว้โดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรงปลูก บริเวณด้านหลังพระอุโบสถ ด้วยทรงรำลึกถึงการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งการเสด็จเสวยวิมุติสุข บริเวณโดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้ง 7 แห่ง แห่งละ 7 วัน ซึ่งพุทธสถานอันยิ่งใหญ่ทั้ง 7 แห่งนั้น เรียกว่า "สัตตมหาสถาน" โดยทรงศึกษาการออกแบบพระพุทธรูปปางเสวยวิมุติสุข 7 ปาง ในลักษณะมนุษยคติ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสัตตมหาสถาน และการกำหนดทิศของสัตตมหาสถานทั้ง 7 แห่ง ร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เสด็จสวรรคต
ทั้งนี้ ในปี 2563 ได้ม