อุบัติเหตุชายวัย 53 ปี ขี่รถจักรยานยนต์พุ่งชนลูกช้างป่า บาดเจ็บทั้งคนและลูกช้าง เจ้าหน้าที่ต้องเร่งปั๊มหัวใจช่วยทั้งคู่จนปลอดภัย
เหตุเกิดบนถนนสายบ้านหินดาษ-บ้านเขาปอ หมู่ 8 ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี นายอนันต์ เชิดสูงเนิน อายุ 53 ปี ชาว อ.แก่งหางแมว ได้รับบาดเจ็บนอนหมดสติอยู่บนถนน เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งปฐมพยาบาล ก่อนนำส่งโรงพยาบาลแก่งหางแมว
ใกล้กันพบลูกช้างเพศเมีย อายุราว 1 เดือน นอนแน่นิ่งอยู่ ชีพจรเต้นอ่อน จึง CPR ยื้อชีวิตกว่า 20 นาที ลูกช้างเริ่มฟื้น พยายามลุกขึ้นเดินเซไปมา และส่งเสียงร้องหาแม่ช้างดังลั่น โดยมีโขลงช้างป่าหลายสิบตัวร้องขานรับ และเดินมุ่งหน้ามายังจุดที่ช้างน้อยนอนรอรับการรักษา เจ้าหน้าที่จึงต้องเร่งทำรั้วไม้ไผ่กั้น ป้องกันลูกช้างวิ่งหนี
จากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ประสานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ นำรถกระบะมาเคลื่อนย้ายลูกช้างไปรักษาดูแลอาการต่อยังสถานีควบคุมไฟป่าเขาสิบห้าชั้น ซึ่งอยู่ใกล้กัน ก่อนจะประสานทีมสัตวแพทย์จากสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) มาตรวจรักษา เพื่อเร่งส่งคืนลูกช้างป่าสู่ฝูงช้างป่าโดยเร็วที่สุด เนื่องจากลูกช้างป่าจำเป็นต้องอยู่กับแม่ช้าง เพื่อกินนม เป็นการลดภาวะเครียดของลูกช้างป่า เพราะหากคืนสู่ฝูงช้างป่าช้าเกินไป อาจมีผลต่อการกลับสู่ฝูงในอนาคต
ล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถส่งคืนลูกช้างป่าสู่ฝูงช้างป่าได้สำเร็จแล้ว โดยมีแม่ช้างมารับ แต่เจ้าหน้าที่จะยังคงติดตามดูอาการลูกช้างป่าตัวนี้เป็นระยะๆ ต่อไป
เหตุเกิดบนถนนสายบ้านหินดาษ-บ้านเขาปอ หมู่ 8 ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี นายอนันต์ เชิดสูงเนิน อายุ 53 ปี ชาว อ.แก่งหางแมว ได้รับบาดเจ็บนอนหมดสติอยู่บนถนน เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งปฐมพยาบาล ก่อนนำส่งโรงพยาบาลแก่งหางแมว
ใกล้กันพบลูกช้างเพศเมีย อายุราว 1 เดือน นอนแน่นิ่งอยู่ ชีพจรเต้นอ่อน จึง CPR ยื้อชีวิตกว่า 20 นาที ลูกช้างเริ่มฟื้น พยายามลุกขึ้นเดินเซไปมา และส่งเสียงร้องหาแม่ช้างดังลั่น โดยมีโขลงช้างป่าหลายสิบตัวร้องขานรับ และเดินมุ่งหน้ามายังจุดที่ช้างน้อยนอนรอรับการรักษา เจ้าหน้าที่จึงต้องเร่งทำรั้วไม้ไผ่กั้น ป้องกันลูกช้างวิ่งหนี
จากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ประสานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ นำรถกระบะมาเคลื่อนย้ายลูกช้างไปรักษาดูแลอาการต่อยังสถานีควบคุมไฟป่าเขาสิบห้าชั้น ซึ่งอยู่ใกล้กัน ก่อนจะประสานทีมสัตวแพทย์จากสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) มาตรวจรักษา เพื่อเร่งส่งคืนลูกช้างป่าสู่ฝูงช้างป่าโดยเร็วที่สุด เนื่องจากลูกช้างป่าจำเป็นต้องอยู่กับแม่ช้าง เพื่อกินนม เป็นการลดภาวะเครียดของลูกช้างป่า เพราะหากคืนสู่ฝูงช้างป่าช้าเกินไป อาจมีผลต่อการกลับสู่ฝูงในอนาคต
ล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถส่งคืนลูกช้างป่าสู่ฝูงช้างป่าได้สำเร็จแล้ว โดยมีแม่ช้างมารับ แต่เจ้าหน้าที่จะยังคงติดตามดูอาการลูกช้างป่าตัวนี้เป็นระยะๆ ต่อไป
Category
🗞
News