"ประชาชาติธุรกิจ" สรุป "5 เรื่องต้องรู้ เงินชดเชยประกันสังคม"
.
1.กรณีมีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน (ที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน) ไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ให้ลูกจ้าง ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน
.
2.ให้ลูกจ้างได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน
.
3.ขณะนี้ "สำนักงานประกันสังคม" มีเงินในส่วนกองทุนว่างงานอยู่ 164,000 ล้านบาท ที่จะนำมาดูแล 1) ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน) และ 2) ผู้ประกันตนต้องมีการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ส่วนกรณีจัดส่งเงินส่งทบไม่ต่อเนื่อง ให้พิจารณาการจัดส่งเงินในรอบ 15 เดือน ว่ารวมแล้ว สมทบเงินไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือไม่
.
ส่วนบางสถานประกอบการที่แม้จะหยุดการทำงาน แต่ยังคงจ่ายเงินให้กับแรงงาน เพื่อรักษาสถานภาพลูกจ้างเอาไว้ ถือเป็นผู้ประกันตนที่ “ไม่เข้าข่าย” ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เพราะเท่ากับว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่อง
.
4.คาดว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และได้รับเงินชดเชยประมาณ 1 ล้านคน โดยเงินชดเชยที่จะจ่ายให้ เดือนละ 5,045-9,300 บาท
.
5.คาดว่าในช่วง 3 เดือนนี้ จะใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ผู้ว่างงาน ประมาณ 20,000 ล้านบาท
.
.
แหล่งข่าวจากสำนักงานประกันสังคม เผยว่า รัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลายปีที่ผ่านมา ทำให้มีเงินค้างจ่ายทั้งหมดสูงถึง 107,000 ล้านบาท
.
ล่าสุดช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลรับปากจะจ่ายหนี้คืนให้ ก้อนแรก 17,000 ล้านบาท และจะทยอยจ่ายคืนในแต่ละปีๆ
.
แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ยังไม่มั่นใจว่าเงิน 17,000 ล้านบาท ที่จะจ่ายหนี้ให้ในปีนี้ กองทุนประกันสังคมยังจะได้คืนหรือไม่
.
1.กรณีมีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน (ที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน) ไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ให้ลูกจ้าง ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน
.
2.ให้ลูกจ้างได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน
.
3.ขณะนี้ "สำนักงานประกันสังคม" มีเงินในส่วนกองทุนว่างงานอยู่ 164,000 ล้านบาท ที่จะนำมาดูแล 1) ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน) และ 2) ผู้ประกันตนต้องมีการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ส่วนกรณีจัดส่งเงินส่งทบไม่ต่อเนื่อง ให้พิจารณาการจัดส่งเงินในรอบ 15 เดือน ว่ารวมแล้ว สมทบเงินไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือไม่
.
ส่วนบางสถานประกอบการที่แม้จะหยุดการทำงาน แต่ยังคงจ่ายเงินให้กับแรงงาน เพื่อรักษาสถานภาพลูกจ้างเอาไว้ ถือเป็นผู้ประกันตนที่ “ไม่เข้าข่าย” ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เพราะเท่ากับว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่อง
.
4.คาดว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และได้รับเงินชดเชยประมาณ 1 ล้านคน โดยเงินชดเชยที่จะจ่ายให้ เดือนละ 5,045-9,300 บาท
.
5.คาดว่าในช่วง 3 เดือนนี้ จะใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ผู้ว่างงาน ประมาณ 20,000 ล้านบาท
.
.
แหล่งข่าวจากสำนักงานประกันสังคม เผยว่า รัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลายปีที่ผ่านมา ทำให้มีเงินค้างจ่ายทั้งหมดสูงถึง 107,000 ล้านบาท
.
ล่าสุดช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลรับปากจะจ่ายหนี้คืนให้ ก้อนแรก 17,000 ล้านบาท และจะทยอยจ่ายคืนในแต่ละปีๆ
.
แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ยังไม่มั่นใจว่าเงิน 17,000 ล้านบาท ที่จะจ่ายหนี้ให้ในปีนี้ กองทุนประกันสังคมยังจะได้คืนหรือไม่
Category
🗞
News