ร้อนเกินอยู่ได้ เอเชียใต้จะทำอย่างไร
WASHINGTON — การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้บางส่วนของเอเชียใต้ร้อนเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในช่วงท้ายของศตวรรษ คุกคามชีวิตผู้คนที่แร้นแค้นที่สุดของโลกหลายล้านราย
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science Advances พื้นที่การเกษตรที่มีประชากรหนาแน่นของอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และศรีลังกา จะร้อนชื้นมาขึ้นจนไม่เอื้ออำนวยต่อการอาศัยภายในปี 2100
นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คลื่นความร้อนจะทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงถึงระดับที่เป็นอันตราย
อุณหภูมิกระเปาะเปียก (wet bulb temperature) จะถูกคำนวณโดยการรวมอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม มุมของดวงอาทิตย์ และเมฆที่ปกคลุม เพื่อวัดภาวะความเครียดของสัตว์จากความร้อน
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าภายในปี 2100 ร้อยละ 75 ของประชากรในเอเชียใต้จะประสบภาวะที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกสูงกว่า 31 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ในสถานการณ์นี้ประชากรราว 4 เปอร์เซ็นต์จะได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิกระเปาะเปียกที่สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส
เอเชียใต้เป็นประเทศที่มีประชากรราวหนึ่งในห้าของโลกและมีความยากจนในระดับสูง ในปี 2015 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,500 คนจากคลื่นความร้อนในภูมิภาคนี้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าประชาชนที่ยากจนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศหรือวิธีบรรเทาความร้อนแบอื่นๆ
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผู้ยากไร้ได้ ข่าว CBC News รายงาน
WASHINGTON — การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้บางส่วนของเอเชียใต้ร้อนเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในช่วงท้ายของศตวรรษ คุกคามชีวิตผู้คนที่แร้นแค้นที่สุดของโลกหลายล้านราย
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science Advances พื้นที่การเกษตรที่มีประชากรหนาแน่นของอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และศรีลังกา จะร้อนชื้นมาขึ้นจนไม่เอื้ออำนวยต่อการอาศัยภายในปี 2100
นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คลื่นความร้อนจะทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงถึงระดับที่เป็นอันตราย
อุณหภูมิกระเปาะเปียก (wet bulb temperature) จะถูกคำนวณโดยการรวมอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม มุมของดวงอาทิตย์ และเมฆที่ปกคลุม เพื่อวัดภาวะความเครียดของสัตว์จากความร้อน
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าภายในปี 2100 ร้อยละ 75 ของประชากรในเอเชียใต้จะประสบภาวะที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกสูงกว่า 31 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ในสถานการณ์นี้ประชากรราว 4 เปอร์เซ็นต์จะได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิกระเปาะเปียกที่สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส
เอเชียใต้เป็นประเทศที่มีประชากรราวหนึ่งในห้าของโลกและมีความยากจนในระดับสูง ในปี 2015 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,500 คนจากคลื่นความร้อนในภูมิภาคนี้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าประชาชนที่ยากจนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศหรือวิธีบรรเทาความร้อนแบอื่นๆ
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผู้ยากไร้ได้ ข่าว CBC News รายงาน
Category
🗞
News