รายการ The Chat Room ประจำวันที่ 30 มีนาคม 2557
ผลสำรวจคนไทยเห็นแตกต่างจากนานาชาติยืนยันให้คงโทษประหารชีวิตไว้ ด้านนักวิชาการระบุ ผลวิจัยชั้นนำของโลกชี้ลดโทษประหาร อาชญากรรมน้อยลง
พันตำรวจเอก รัชต์ เศวตนันทน์อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวระหว่างร่วมเสวนา "โทษประหาร สังคมไทยคิดอย่างไร" จัดโดยคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ว่า โทษประหารชีวิตขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและข้อมูลวิจัยหลายแห่งพบว่า บางประเทศที่ยกเลิกโทษประหาร อาชญากรรมกลับลดลง
ล่าสุด มีประเทศที่ประกาศยกเลิกการประหารชีวิตแล้วถึง140 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทย ยังเป็น 1 ใน 58 ประเทศที่มีโทษประหารชีวิต ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ลงสัตยาบันกับสหประชาชาติในการศึกษาและเสนอเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต แต่ผลสำรวจล่าสุดคนไทยร้อยละ 80-90 ยังเห็นควรให้คงโทษประหาร
ดร.แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า การลงโทษประหารเป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น โดยงานวิจัยทางวิชาการจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ระบุว่าไม่มีประโยชน์ หรือช่วยให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง โดยประเทศไทยยังติด 1 ใน 25ประเทศที่มีการลงโทษประหารจริง ทำให้ถูกจับตามองว่าก้าวถอยหลัง
รศ.ณรงค์ ใจหาญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุ บันสังคมไทยมีบทลงโทษประหารในหลายฐานความผิดเช่น ฆาตกรรม ค้ายาเสพติด ซึ่งหากมองในแง่ของวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยโทษประหารน่าจะยังควรมีอยู่เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้ที่จะกระทำความผิดเกิดความกลัวเกรง หรือยับยั้งชั่งใจ
แต่ในทางปฏิบัติไม่ควรจะนำมาใช้ ยกเว้นคดีฆาตกรรมที่มีเจตนาชัดแจ้ง ซึ่งป็นคดีอุกฉกรรจ์หรือมีการกระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเชื่อว่าการจำคุกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งนี้ น่าจะทบ ทวนการลงโทษประหารในคดีค้ายาเสพติด เพราะเป็นเรื่องเชิงสังคมและสายตาของต่างชาติก็ไม่ยอมรับ
ผลสำรวจคนไทยเห็นแตกต่างจากนานาชาติยืนยันให้คงโทษประหารชีวิตไว้ ด้านนักวิชาการระบุ ผลวิจัยชั้นนำของโลกชี้ลดโทษประหาร อาชญากรรมน้อยลง
พันตำรวจเอก รัชต์ เศวตนันทน์อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวระหว่างร่วมเสวนา "โทษประหาร สังคมไทยคิดอย่างไร" จัดโดยคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ว่า โทษประหารชีวิตขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและข้อมูลวิจัยหลายแห่งพบว่า บางประเทศที่ยกเลิกโทษประหาร อาชญากรรมกลับลดลง
ล่าสุด มีประเทศที่ประกาศยกเลิกการประหารชีวิตแล้วถึง140 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทย ยังเป็น 1 ใน 58 ประเทศที่มีโทษประหารชีวิต ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ลงสัตยาบันกับสหประชาชาติในการศึกษาและเสนอเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต แต่ผลสำรวจล่าสุดคนไทยร้อยละ 80-90 ยังเห็นควรให้คงโทษประหาร
ดร.แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า การลงโทษประหารเป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น โดยงานวิจัยทางวิชาการจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ระบุว่าไม่มีประโยชน์ หรือช่วยให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง โดยประเทศไทยยังติด 1 ใน 25ประเทศที่มีการลงโทษประหารจริง ทำให้ถูกจับตามองว่าก้าวถอยหลัง
รศ.ณรงค์ ใจหาญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุ บันสังคมไทยมีบทลงโทษประหารในหลายฐานความผิดเช่น ฆาตกรรม ค้ายาเสพติด ซึ่งหากมองในแง่ของวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยโทษประหารน่าจะยังควรมีอยู่เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้ที่จะกระทำความผิดเกิดความกลัวเกรง หรือยับยั้งชั่งใจ
แต่ในทางปฏิบัติไม่ควรจะนำมาใช้ ยกเว้นคดีฆาตกรรมที่มีเจตนาชัดแจ้ง ซึ่งป็นคดีอุกฉกรรจ์หรือมีการกระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเชื่อว่าการจำคุกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งนี้ น่าจะทบ ทวนการลงโทษประหารในคดีค้ายาเสพติด เพราะเป็นเรื่องเชิงสังคมและสายตาของต่างชาติก็ไม่ยอมรับ
Category
🗞
News